ค้นหา
Back to home
Home  | ผู้เชี่ยวชาญ Dr.Kate Khongkwan
about1

PANACEE

Acadamy

WE BELIEVE IN “WELLNESS OF LIVING” ความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรงตลอดอายุขัย และที่สำคัญ​มีความเคารพในตนเอง เชื่อมั่นในความงามของร่างกายและจิตใจของตนเอง เราจึงพัฒนาหลักสูตร WELLNESS OF LIVING ขึ้น เพื่อให้ ผู้หญิงทุกคนได้เรียนรู้ พัฒนาตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อนำความรู้ไปช่วยเหลือคนรอบข้างได้

ออฟฟิศซินโดรม

เช็กหน่อย คุณเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) หรือไม่


โรคยอดฮิตอีกหนึ่งอย่างของกลุ่มคนวัยทำงานคงหนีไม่พ้น ออฟฟิศซินโดรม
(office syndrome) ลองมาเช็กหน่อยไหม ว่าตอนนี้คุณเสี่ยงที่จะเป็นแล้วหรือยัง

 

โรคยอดฮิตอีกหนึ่งอย่างของกลุ่มคนวัยทำงานคงหนีไม่พ้น ออฟฟิศซินโดรม
(office syndrome) ที่สร้างความเจ็บปวดที่เป็นปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน ก่อนที่จะสายเกินแก้ ลองมาเช็กหน่อยไหม ว่าตอนนี้คุณเสี่ยงที่จะเจอกับ ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) แล้วหรือยัง
 

เช็กลิสต์คุณมีความเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)หรือไม่

  • ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมนาน ๆ หรือทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกัน
    นานเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน
  •  
  • มีอาการปวดหัวเรื้อรัง
  •  
  • มีอาการปวด หลัง คอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง
  •  
  • เกิดอาการชา ตามมือ เท้า หรือนิ้ว
  •  
  • อาการปวดค่อนข้างกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หลายครั้งต้องทานยาเพื่อระงับความปวด

หากส่วนใหญ่คำตอบคือ “ใช่” คุณอาจจะกำลังมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น office syndrome แต่ก่อนที่เราจะไปหาวิธีแก้ เรามาทำความรู้จัก ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ให้มากขึ้นก่อนดีกว่า ว่าแท้จริงแล้วโรคนี้คืออะไร สาเหตุมาจากไหน

ออฟฟิศซินโดรม office syndrome คืออะไร

เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสม
เป็นกลุ่มที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น หรือเส้นประสาท
อาจเกิดมาได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น

  • ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม การวางมือ ศอก หรือตำแหน่งของเก้าอี้
    กับโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง
  • การทำงานในท่าทางเดิมนานๆ หรือทำกิจกรรมในท่าเดียวซ้ำๆ
    โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือการยืนทำงาน
    เป็นระยะเวลานาน
  • การใช้งานร่างกายแบบเฉพาะที่ เช่น การใช้เม้าส์บ่อยๆ เป็นเวลานาน
    ทำให้เกิดแรงกดที่ข้อมือขวา ทำให้เกิดอาการปวด หรือชาที่มือขวามากกว่า

ดังนั้นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิด ออฟฟิศซินโดรม ได้มักเกิดจากการใช้งานร่างกาย
หรือเคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำ ๆ มีแนวโน้มทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อแบบสะสมได้
เพราะเกิดการหดและเกร็งค้างในท่าเดิม ช่วงแรกของอาการ อาจยังไม่รุนแรงมาก
แต่หากปล่อยไว้นานอาจเป็นอาการเรื้อรัง ที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

วิธีรักษาให้หายจาก ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

การรักษากลุ่มโรคนี้นั้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับไหน โดยจะขอแบ่งเป็น 3 ระดับง่าย ๆ จากอาการปวดน้อยสุดไปถึงมากสุด โดยจะวัดจากคะแนนระดับความปวดเต็ม 10 ดังนี้

  1. กลุ่มอาการปวดเล็กน้อย ไม่รุนแรง ให้คะแนนความปวด 1-3 จากมีอาการปวดทั่วไปที่ยังพอทนไหว ไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถแก้ไขได้จากการออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ท่านั่ง ในการทำงาน ให้มีการขยับร่างกายมากขึ้น
  2. กลุ่มอาการปวดที่รุนแรงขึ้น ให้คะแนนความปวด 4-6 ต้องทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ นอกจากการปรับพฤติกรรม อาจจำเป็นต้องอาศัยการใช้ยาร่วมด้วย ทั้งยาทาน ยาใช้ภายนอก หรือการฉีดยาเพื่อลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
  3. กลุ่มอาการปวดรุนแรงทั้งตอนทำงาน และตอนที่ทำกิจกรรมอื่น ๆ ให้คะแนนความปวด 7-10 และมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น อาการชา เหน็บ เกร็ง ตาพล่ามัว เกิดอาการร้าวลงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากความเจ็บปวดค่อนข้างรุนแรง อาจต้องใช้วิธีทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย เช่น การใช้เลเซอร์ลดปวด การบำบัดโดยการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น หรือการนวดเฉพาะจุดเพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น

ถึงแม้ว่าการรักษาจะมีหลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หมั่นเปลี่ยนอิริยาบทในการทำงาน ไม่นั่งหรือยืนในท่าเดิมนานๆ ออกกำลังกาย หรือทำกายบริหารอย่างเป็นประจำเพื่อฝึกให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถโบกมือลาอาการ ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ได้แล้ว

แต่หากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานแล้วยังพบปัญหา อาการปวดเมื่อยสามารถเข้ามารับการวินิจฉัยกับคุณหมอและนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลจอมเทียนได้ เราพร้อมให้คำปรึกษา บำบัด รักษาและฟื้นฟูครอบคลุมทุกกลุ่มอาการด้วยมาตรฐานระดับสากล

about